the little mermaid

the little mermaid

the little mermaid

the little mermaid กลายเป็นหนังที่หลายคนพูดถึงมากมาย ทั้งกระแสในด้านที่ดีและไม่ดี เพราะการที่ ฮัลลี เบลีย์ ได้รับบทเป็นเงือกน้อย ก็มีการพูดถึงไปในทางต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนตัวสำหรับเราค่อนข้างสนับสนุนและยอมรับกับการที่ ฮัลลี เบลีย์ ได้เป็นเงือกน้อย ส่วนหนังก็อย่างที่หลายคนได้ทราบกันดีว่าเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากแอนิเมชั่นในชื่อเดียวกันอย่าง The Little Mermaid (1989) สำหรับเราแล้ว ถือว่าเป็นการเอาทำเป็น Live-Action ได้ดีขึ้นและสนุกขึ้นกว่ามาก

ส่วนตัวไม่ได้โตมากับเวอร์ชั่นการ์ตูน (ว่าง่าย ๆ คือวัยเด็ก ไม่เคยดูเลยฮะ 5555) แต่ไม่นานมานี้ก็ได้มีโอกาสดูเวอร์ชั่นการ์ตูน หลังจากที่ดูหนังจบแล้ว สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเวอร์ชั่นการ์ตูนด้อยกว่าหนัง Live-Action คือตัวเรื่องที่มีน้ำหนักและเหตุผลเบาบาง วิธีการเล่าดูไวจนทำให้เรื่องราวความสัมพันธ์และตัวละครถูกกลบไปด้วยความสวยงามของเพลงและความสดใสน่ารักของภาพจำที่หลายคนจดจำมา สำหรับตัวหนัง แม้ข้อเสียจะหนีไม่พ้นในส่วนของวิธีการเดินเรื่องที่ตามสูตรจนซ้ำจำเจ ไม่ได้มีอะไรใหม่ บางอย่างก็อาจดูเฉิ่มและสวยสดใสหวานแหววสไตล์ดิสนีย์ แต่ภาพรวมเราว่าหลายอย่างมันดัดแปลงและได้ดีกว่าและสนุกกว่า

สิ่งที่ทำให้เราชอบหนังมากคือการขยายเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเอริคและแอเรียล โดยในการ์ตูนจะไม่ได้ค่อยเห็นนัก the little mermaid แต่ในหนังก็มีการเพิ่มซีนหลายซีนเข้ามา เช่น ซีนเดินตลาด ซีนดูแผนที่ ซีนขี่ม้า และซีนเล็กน้อยอื่น ๆ ที่ทำให้การเติมเต็มความสัมพันธ์ของทั้งสองดูมีมิติและชวนเข้าอกเข้าใจถึงความสัมพันธ์นี้ได้มากขึ้น และส่วนที่ชอบอีกอย่างคือความสัมพันธ์พ่อลูกที่แม้หนังจะไม่ได้เล่ามากนัก แต่หนังก็ได้ขยายเรื่องราวส่วนนี้ได้น่าประทับใจมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงท้ายของหนังที่เราว่าเป็นการต่อเติมจากการ์ตูนได้ดีมาก การเติบโต การปล่อยวาง การพยายามเข้าใจหัวอกของความเป็นครอบครัวระหว่างกัน จากที่มันจบแบบรวบรัดตัดตอนไว หนังก็เติมหลายส่วนให้ออกมาดูมีชีวิตชีวา ทำให้ประเด็นที่ว่าด้วยความรัก โลกทั้งสองที่ถูกแบ่งแยกกัน และประเด็นเราทุกคนต่างก็เป็นส่วนนึงของโลกใบนี้ ไม่มีใครไม่สำคัญ เราต่างมีบทบาทเป็นของตัวเอง ก็ทำให้หนังมันจบได้อย่างสวยงามและประทับใจไม่น้อยเลย

จริง ๆ อาจจะติเรื่องงานภาพและโปรดักชั่นนิด ๆReview: I Took My Daughters, 3 and 6, to See “The Little Mermaid” –  IndieWire

ที่เราว่ามันดีไซน์หลายซีนออกมาดูมืดและสลัว เน้นความสมจริงมากเกินจนทำให้ขาดเสน่ห์และความงดงามที่พูดถึงใต้ท้องทะเลอันสดใสและมีชีวิตชีวา แต่ใด ๆ เราประทับใจเพลงและเคมีของตัวละครในหนังมากพอสมควร ฮัลลี เบลีย์ สำหรับเราก็สามารถรับบทบาทในเงือกน้อยได้ดีมากและไม่ติดขัดอะไรใด เป็นแอเรียลที่มีเสน่ห์และสไตล์เป็นของตัวเอง ซึ่งเธอก็โดดเด่นมาก ๆ ในพาร์ทร้องเพลง Part of Your World อันทรงพลังและตราตรึง

The Little Mermaid_4″The Little Mermaid” ก็เป็นหนัง Live-Action ของดิสนีย์ที่แม้ตัวเรื่องจะไม่ได้มอบความสดใหม่นัก แต่ก็เป็นการดัดแปลงมาจาการ์ตูนได้ดีกว่า สนุกกว่า มอบมิติ น้ำหนักและประเด็นของหนังได้ทรงพลังและประทับใจกว่าอย่างที่มันควรจะเป็น สำหรับเราให้คะแนนหนังเรื่องนี้ที่ 7 เต็ม 10 ครับ

เราไม่เคยมีปัญหากับ Ariel ที่ผิวไม่ขาวและผมไม่แดง เพราะ 1. เราไม่เคยดูเวอร์ชั่น Animation (1989) ถึงแม้จะเคยเห็นรูปบ้างประปราย แต่ก็ไม่มีผลต่อภาพจำอะไร และ 2. จากที่เราเคยอ่านหนังสือ The Little Mermaid (ฉบับแปลอังกฤษจาก “งานเขียนต้นฉบับ” ภาษาเดนิชของ Hans Christian Andersen) เนื้อหาหรือธีมของเรื่องมันเน้นที่ความรักและเสียงของ Ariel เป็นหลัก เรื่องราวของเงือกน้อยไม่มีความสัมพันธ์กับบริบททางเชื้อชาติวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างเรื่อง Mulan (จีน), Aladdin (อาหรับ), Pocahontas (เนทีฟอเมริกัน), หรือ Moana (โปลินีเซีย) แต่ใดใด ดังนั้น นางเงือกจะสีผิวหรือเชื้อชาติอะไรก็ไม่ส่งผลต่อสารสำคัญของเรื่อง

ผู้กำกับระดับเคยเข้าชิงออสการ์อย่าง Rob Marshall ได้รับโจทย์จาก Disney ให้มากำกับและดัดแปลง The Little Mermaid ฉบับ Live Action ให้เป็นหนัง Disney ที่มีความเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น โดยที่ยังคงเนื้อเรื่องของฉบับการ์ตูนไว้ รวมถึงต้องมีสัตว์พูดได้ อย่างปู Sebastian (Daveed Diggs), ปลา Flounder (Jacob Tremblay), และนก Scuttle (Awkwafina) อยู่ด้วยครบองค์ประชุม

เนื้อเรื่องหลัก ๆ ย่อ ๆ ก็คือ เงือกน้อย Ariel (Halle Bailey)

ลูกสาวคนเล็กของจ้าวสมุทร King Triton (Javier Bardem นักแสดงออสการ์) ไปตกหลุมรักมนุษย์อย่างเจ้าชาย Eric (Jonah Hauer-King) เธอจึงไปหา Ursula แม่มดทะเล (Melissa McCarthy) เอาเสียงใส ๆ ของเธอไปแลกกับขาสองข้าง โดยแม่มดมีเงื่อนไขว่า Ariel ต้องทำให้เจ้าชายหลงรักและจุมพิตเธอภายใน 3 วัน

Rob Marshall ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังถูกยัดเยียดให้ยอมรับ “เงือกผิวดำ” หรือ “เงือกผิวสี” แม้แต่น้อย ตรงกันข้าม เขาทำให้เราเห็นภาพแห่งโลกความเป็นจริงว่า ถ้าโลกนี้มีนางเงือกจริง ๆ นางเงือกก็อาจมีสีผิวใดใดตามเขตน่านน้ำท้องมหาสมุทรที่นางเงือกนั้น ๆ ถือกำเนิด เช่น เงือกแถบแอฟริกาก็อาจสีผิวดำ เงือกแถบอินเดียก็อาจสีผิวน้ำตาล เช่นเดียวกับมนุษย์บนภาคพื้นทวีป โดยในเรื่องนี้ Ariel อยู่แถบเขตแอฟริกา บนดินเป็นเมืองที่ปกครองโดย Queen Selina (Noma Dumezweni) ซึ่งเป็นคนผิวดำ และเจ้าชายเป็นลูกเลี้ยงผิวขาวที่ลอยมาเรือแตก (ซึ่งในสมัยนั้น ชาวตะวันตกก็ชอบล่องเรือมาล่าอาณานิคมหรือจุดประสงค์ต่าง ๆ กับแถบนี้จริง ๆ)

สำหรับเรา สิ่งที่เชื่อได้ยากมากกว่าเรื่องการมีอยู่ของนางเงือกผิวสีหรือนางเอกผิวดำ คือการที่ใครสักคนจะเจอรักแท้หรือตกหลุมรักใครกันใน 3 วัน 7 วัน แต่หนังเรื่องนี้ก็ทำให้เราเชื่อได้ว่ามันเป็นไปได้ ทำให้เราเข้าใจว่า รักแท้มันหน้าตาแบบไหน… เพราะในเรื่อง Ariel ตกหลุมรักเจ้าชายตั้งแต่แรกเห็นเพราะความคิด ความฝัน อุดมการณ์ และปมในใจ ที่เหมือนกับของเธอทุกประการ โดยทั้งสองเป็นเจ้าหญิง/เจ้าชาย มีภาระหน้าที่ในวันหน้ารออยู่ ถูกพ่อแม่ตีกรอบและขีดเส้นทางให้ แต่ก็ใฝ่ฝันที่จะเดินทางไปค้นหาและเรียนรู้โลกใบใหม่หรือโลกภายนอกที่แตกต่างออกไป ซึ่ง “พ่อแม่รังแกฉัน” หรือ protective parents ก็เป็นหนึ่งในธีมสำคัญของเรื่องเช่นกัน

เราได้เห็นว่า สองคนนี้เขารักในตัวตนของกันและกันจริง ๆ โดยไม่เกี่ยวกับอีกฝ่ายจะรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างไรหรือจะสมบูรณ์ครบ 32 หรือไม่ นั่นก็หมายความด้วยว่า ต่อให้ใครจะมาโต้แย้งว่า Vanessa (Jessica Alexander) สวยเลิศกว่า Ariel เพียงใด มันก็ไม่สำคัญอยู่ดี และเอาจริง ๆ ทั้ง Ariel และ Vanessa ก็สวยคนละแบบ ตัว Vanessa เองก็รู้ว่า แค่ความสวยอย่างเดียวมันไม่พอที่จะจับเจ้าชายได้ จึงต้องเอาเสียงของ Ariel มาช่วยและสวมรอยว่าเป็นฮีโร่ที่เคยช่วยชีวิตเจ้าชายไว้

YOU SHOULDN’T HAVE TO GIVE UP YOUR VOICE TO BE HEARD.The Little Mermaid' Review: Disney's Renovations Are Only Skin Deep - The  New York Times

สงสารก็แต่ Halle Bailey ที่ต้องรับบทนางแบก ในฐานะคนดำที่มาเป็นเจ้าหญิง Ariel เธอต้องพยายามมากกว่าคนผิวขาวหลายเท่าเพื่อพิสูจน์ตัวเอง เพราะถ้าทำไม่ดี เธอจะถูกสาปส่งหนักกว่าคนขาวทำแย่หลายเท่าแน่นอน และต่อให้ทำดีตามมาตรฐาน เธอก็ได้แค่เสมอตัวหรือยังมิวายถูกแซะไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม สำหรับเรา Halle Bailey ในบทของ Ariel กับภาพเคลื่อนไหว เธอทำได้ดีมาก ๆ สวยสดใสในยามเป็นเงือกน้อย มีความใสซื่อใคร่รู้และดูบ้านนอกเข้ากรุงสมจริง ณ ยามอยู่บนบก และในขณะเดียวกัน เธอก็ยังเปี่ยมด้วยความฝันและความมุ่งมั่น

ส่วนฉากปีนโขดหินที่ชาวเน็ตหลายคนมีปัญหากันว่า​ “น่ากลัวราวกับจะกลืนกินเจ้าชาย” เราไม่มีปัญหาอะไรเลย เรากลับรู้สึกว่าการแสดงเนียนตาและเข้ากับบริบทที่เธอ… ผู้ถูกสอนให้อยู่ห่างจากมนุษย์มาแต่น้อย… กำลังกล้า ๆ กลัว ๆ กับฝูงมนุษย์หรือกองทหารที่วิ่งกรูเข้ามาหาเจ้าชายที่ชายหาด บวกกับความรู้สึกว่า วันนึงฉันจะต้องไปอยู่ตรงนั้นข้าง ๆ เธอให้ได้

The Little Mermaid ฉบับ Disney‘s Live Action ของ Rob Marshall เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโลกใบใหม่ใบนี้ในทางที่ควรจะเป็น มีความ inclusive มากขึ้น ทลายกำแพง และขจัด “ภาพจำ” จากการ์ตูนต้นฉบับที่สร้างใน “ยุคสมัยชาวผิวขาวเป็นใหญ่” ทำให้เด็กผู้หญิงทุกคนเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าตัวเองจะเชื้อชาติสีผิวใด เธอก็เป็นเจ้าหญิงได้ เป็นแอเรียลได้ นอกจากนี้ คนทุกคนไม่จำเป็นต้อง “เลือก” ระหว่างความรักกับความฝันหรือภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่สำคัญ เราไม่จำเป็นต้องพยายามตะเกียกตะกายไขว่คว้าเพื่ออยากเป็น “part of the world” อีกต่อไป เพราะเราทุกคนจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างโลกที่เราอยากให้เป็นได้ด้วยตัวเราเอง

ontheteenbeat

My Review

Review Form...

Reviews

Loading Reviews...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *