คนหิว เกมกระหาย

คนหิว เกมกระหาย

คนหิว เกมกระหาย

คนหิว เกมกระหาย หนังเล่าเรื่องราวของ ออย ทายาทร้านผัดซีอิ้วย่านตลาดเก่า ที่เธอทำหน้าที่เป็นคนผัดอยู่หน้าเตาทุกวัน ฝีมือของเธอนั้นถือว่าจัดจ้านจนทำให้มีผู้คนมากหน้าหลายตาตามมาลองชิมก๋วยเตี๋ยวผัดฝีมือของเธอจนแน่นร้าน แต่เธอกลับรู้สึกว่านี่ไม่ใช่ความพิเศษอะไร และสิ่งที่เธอทำนี้มันคือการรับมรดก มาจากรุ่นสู่รุ่นไม่ใช่สิ่งที่เธอต้องการเลือก แต่เธอก็ต้องยอมทนทำไป และมองไม่เห็นว่าจะมีการพัฒนาได้ จนในวันหนึ่งก๋วยเตี๋ยวผัดสูตรของตระกูลมันดันไปเตะลิ้น โตน เชฟผู้ช่วยจากร้านอาหารที่ดังที่สุดในประเทศจึงทาบทามให้เธอเข้ามาทำงานในทีม Hunger ของเชฟพอล เชฟอันดับ 1 ของไทยที่มีสไตล์การทำงานที่ดุดัน จริงจัง เข้มงวด และพิพถพิถันอย่างสูง และทัศนคติที่แข็งกร้าวว่า อาหารมีเอาไว้เพื่อแสดงฐานะทางสังคม คนที่มีเงินมากเท่านั้น

ถึงจะสามารถกินอาหารของเขาได้ และอาหารของเขานั้นยิ่งกินยิ่งหิว คนที่จะทำอาหารได้เก่งที่สุดต้องมีความกระหายที่สุด คนหิว เกมกระหาย และนี่คือสิ่งที่ท้าทายที่สุดที่จะทำให้ออยกลายเป็นคนพิเศษในด้านอาหารได้ แต่กว่าจะได้เป็นคนพิเศษนั้น ออยจะต้องแลกกับอะไรหลาย และต้องเข้าสู่ด้านมืดของวงการอาหาร และเรียนรู้ว่า “อาหารมีไว้แสดงฐานะทางสังคม ไม่ได้ไว้แสดงความรัก คนจนเวลาหิวก็แค่ต้องการอาหารเพื่อที่จะทำให้อิ่ม แต่พอเป็นคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง ความหิวก็เปลี่ยนไป เริ่มหิวการยอมรับ หิวความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือกว่าคนอื่น”HUNGER คนหิว เกมกระหาย” นำทัพเที่ยวไทย ตามรอย 5 หนัง-ซีรีส์ดังบน Netflix

Hunger: คนหิว เกมกระหาย เป็นหนังเชิงสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบ 100% เต็ม ดังนั้นหากใครคิดว่าจะตั้งธงมาดูหนังเกี่ยวกับการทำอาหาร หนังที่นำเสนอการปรุงอาหารโดยใช้เครื่องปรุงหรือวิธีการปรุงอันสุดแสนชีวิตเศษ ดูความในห้องครัวเหมือนกับที่เคยดูใน Hell’s Kitchen หรือใน The Master Chef หรือดูอะไรก็ตามที่มันสมจริงสมจังเกี่ยวกับการทำอาหารแล้วราวกับดูสารคดีการทำอาหารแล้วละก็ ขอให้เปลี่ยนธงซะใหม่ เพราะเชื่อว่าทางทีมสร้างและผู้กำกับ ต้องการจะนำเสนอมุมมอง แนวคิด ทัศนคติของผู้คนในสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ผู้คนที่ล้วนแต่หิวกระหายอำนาจ หรือเห็นแก่ตัวมากกว่าการทำอาหารซะอีก โดยทีมสร้างได้ใช้เรื่องราวของเชฟและการอาหาร พฤติกรรมการกินอาหารมาใช้เป็นเปลือกในการเล่าเรื่องเท่านั้น เมื่อเราเปลี่ยนธงได้ดังนี้แล้ว ไอ้เรื่องความสมจริงสมจังของการทำอาหารนั้นก็สามารถตัดทิ้งไปได้โดยที่ไม่ต้องเอามาเป็นอะไรให้เป็นที่หงุดหงิดใจเลย

และเมื่อเรามองว่า Hunger: คนหิว เกมกระหาย เป็นหนังสัญลักษณ์ ก็สามารถตีความหนังเรื่องนี้ได้อย่างสนุกสนาน และก็มีสัญลักษณ์มากมายที่สอดแทรกเอาไว้ในนั้น ให้เราได้ตีความแบบไม่มีผิดหรือถูกอะไรเลย แล้วเนี่ยแหละคือความสนุกของ Hunger: คนหิว เกมกระหาย อย่างแท้จริง

สัญลักษณ์ความหิวกระหาย

สิ่งแรกที่เรารู้เข้าใจว่าหนังต้องการนำเสนอ วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ที่รายล้อมไปด้วยสังคมที่บีบรัด การแก่งแย่งชิง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ผู้นำจอมเผด็จการ การบ้าอำนาจของนักการเมืองและมหาเศรษฐี ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันนั้นโดยรวมแล้วก็มีแต่คนที่มีฐานะต่ำ หาเช้ากินค่ำ ซึ่งแน่นอนว่าคนเหล่านี้ก็ต้องพยายามหาทางหนีตัวเองไปอยู่ในจุดที่สูงกว่าในปัจจุบัน จึงไม่แปลกอะไรที่พวกเขาจะต้องผ่านการท้าทาย ผ่านการทดสอบ เรียนรู้ว่าสังคมที่สูงกว่าที่ตนเองคิดไว้นั้นแท้จริง อาจจะไม่ได้ดีไปกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ และแถมต้องเรียนรู้ว่า การที่จะได้มาถึงจุดนั้นจะต้องมีอะไรที่เสียไปตั้งหลายอย่าง เหมือนกับการที่เชฟออย เรียนรู้เกี่ยวกับการทำอาหารจากเชฟพอล ได้เรียนรู้ว่าอะไรที่จะสามารถผลักดัน ให้กลายไปอยู่ในจุดสูงสุด และแรงผลักดันที่ว่านั้นมันเพียงพอหรือไม่ ซึ่งมันอาจจะเริ่มมาจากจุดเล็ก ๆ เพียงแค่ ไข่ปลาคาเวียร์ก็เป็นได้ แต่สำคัญที่สุด ที่จะนำไปสู่จุดเปลี่ยนของชีวิตและสถานะทางสังคมได้ก็คือ เราต้องมีความ กระหายหิวเป็นอย่างมากและมากกว่าที่ทุกคนหิวนั่นเอง

ส่วนตัวมองว่าในประเด็นนี้นั้นทำออกมาได้ดีมาก โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนสำคัญของเชฟพอล ที่ทำให้เขาได้ขึ้นมายืนอยู่ในแนวหน้าของเชฟระดับประเทศได้นะเขาต้องทำอะไรมาบ้าง และมันเมคเซ็นท์มากพอที่จะทำให้ เราเห็นว่าเพราะเหตุใดเชฟพอลนั้น ถึงมีความแกร่ง ดุดัน ไม่เกรงใจ ละเอียดละออ ใส่ใจรายละเอียด พิถีพิถันอย่างที่สุด และเข้าใจว่าทำไมถึงต้องกลายเป็นคนที่ต้องเคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเขาเกลียดอดีตของตัวเอง เขาต้องการจะแก้แค้นพวกคุณรวย ต้องการให้คนรวยนั้นหิวเชฟพอลมากกว่าหิวอาหารที่เขาปรุงซะอีก

ส่วนแรงผลักดันของเชฟออยนั้นตอนแรกก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีอะไร และรู้สึกว่ามันยังไม่มีแรงมากพอในการผลักดัน แต่เมื่อเกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นกับคนสำคัญในครอบครัว มันก็สามารถผลักดันเธอก็ไปจนถึงจุดสูงสุดได้เช่นกัน และที่สำคัญที่สุดเธอไม่อยากอยู่ใต้ร่มเงาของเชฟพอลอีกต่อไป เธอต้องมีความพิเศษกว่า เชพพอล สิ่งนี้แหละที่ทำให้เห็นว่าคนอย่างเราถ้าหิวมากพอก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ และการที่เราทำตามความฝันตัวเองไม่สำเร็จก็เพราะเรายังหิวมันไม่มากพอ

สัญลักษณ์เสียดสีชนชั้น

ประเด็นในเชิงสัญลักษณ์ต่อมาก็คือการเสียดสีพฤติกรรมการกินของพวกคนรวย ที่คนเหล่านี้ มีทั้งอำนาจมีเงินทอง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามก็ต้องแสดงถึงอำนาจของตนเองอย่างสูง ไม่แม้กระทั่งการกินอาหาร ซึ่งเอาข้อเท็จจริงแล้วคนเหล่านี้ก็อาจจะไม่รู้เลยว่า รสชาติอาหารที่แท้จริงแล้วมันอร่อยหรือไม่ แต่ถ้าได้เป็นเจ้าของได้ซื้อได้จ่ายได้จ้าคนที่ดีที่สุดของประเทศมาทำอาหารให้กินแล้ว นั่นมันก็เพียงพอสำหรับการแสดงอำนาจของพวกเขาแล้ว ดังนั้นในหลายฉากเราจึงเห็นว่า เชฟพอลได้มีการทำอาหารในแนวประชดชัน ให้พวกคนรวยบ้าอำนาจเหล่านี้ได้กิน แล้วก็คนเหล่านี้ก็ชื่นชมว่าอร่อยไปเหมือนกันทั้งหมด แม้ว่าอาหารที่ทำนะมันอาจจะไม่ดีอย่างนั้นจริง ๆ ก็ตาม

แสดงให้เห็นว่าคนรวยคนบ้าอำนาจนั้นทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อรักษาอำนาจเหล่านั้นเอาไว้ และยิ่งมีเท่าไหร่ก็ยิ่งแสวงหามากขึ้นเท่านั้น ราวกับว่าคนกินอาหารที่ไม่เคยอิ่ม และหิวอยู่ตลอดเวลา และทุกครั้งที่กินก็แสดงความตระกะตระกรามเลอะเทอะเละเทะ กินมูมมาม กินเลือดกินเนื้อ เอาเปรียบชนชั้นแรงงาน อย่างเช่นเมนูที่เขาทำให้นักการเมือง อย่างป๋าเปรมศักดิ์และพรรคพวกได้คือเมนูเนื้อแบบเลือดคลักกินแบบเลอะมุมปาก หรือการทำเมนูพิเศษให้กับพวก ลูกคนรวยที่รวยมาจากการเล่นคลิปโต ทำให้เห็นว่ามีมดอยู่ในอาหาร มดก็เปรียบเสมือนให้กับชนชั้นแรงงาน ร่ำรวยมาได้จากชนชั้นในงานนั่นเอง

เป็นการเสียดสีพฤติกรรมการกินอาหารของคนรวย ว่าอาหารที่กินนั้นวัตถุดิบใหม่ ชั้นดี อาหารปรุงอาหารแบบพิถีพิถัน การจัดวางโดยใช้ศิลปะชั้นสูง พ่อครัวที่ปรุงก็ต้องเก่งขั้นเทพ วิธีการปรุงก็ต้องตื่นตาตื่นใจ ทุกอย่างถูกจัดเตรียมเอาไว้เสิร์ฟ คนรวย คนชั้นชั้นสูง และนักการเมืองมหาอำนาจทั้งนั้นที่จะมีสิทธิกิน ซึ่งไอ้พวกนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาหารอะไรคืออาหารอร่อย เพียงเพราะแค่พวกมันได้จ่ายเงินจ้างเชฟที่เก่งที่สุดมาทำอาหารให้กินนั่นก็หมายความว่าพวกมันมีรสนิยมที่สูงแล้ว ชอบประโยคหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้ว่า อาหารที่กินมันแพงเพราะพิเศษ หรือว่าเพราะความพิเศษมันเลยทำให้แพงHUNGER คนหิว เกมกระหาย : จัดจ้าน รุนแรง ส่องสังคมความเหลื่อมล้ำผ่านความหิว

แล้วก็มาสะท้อนกลับมาที่พฤติกรรมการกินอาหารของคนจนหรือชนชั้นแรงงาน ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่ผ่านการตกแต่งอย่างหรูหราเหล่านั้นเลย เพียงแค่นำก๋วยเตี๋ยวมา 1 ชามแล้วเทข้าวสวยใส่เข้าไปก็ถือว่ากินได้แล้ว เพราะพฤติกรรมการกินอาหารของคนจนหรือชนชั้นและงานนั้นกินเพื่อให้ปรทังความหิวเท่านั้นเอง

อย่าว่าแต่การเข้าถึงสิทธิ์ในการกินอาหารดี ๆ เลยการเข้าถึงสิทธิ์ในการรักษาของคนจนก็ยังยากเลย คนรวยสามารถใช้เงิน มหาศาลในการจองกินอาหารได้ แต่คนจนไม่มีเงินแม้กระทั่งจ่ายเงิน ให้คนป่วยได้มีเตียงนอนในการรักษาพยาบาลด้วยซ้ำ

สัญลักษณ์การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ

การแสดงสัญลักษณ์ว่าหัวหน้าในห้องครัวก็เปรียบเสมือนกับผู้นำประเทศ และ รูปแบบ การทำงานอยู่ในห้องครัวนั้นไม่มีคำว่าประชาธิปไตย มันคือเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่หัวหน้าเชฟก็เปรียบเสมือนกับผู้นำเผด็จการอำนาจนิยม เราจะเห็นได้ว่าในสภาพของห้องครัวหรือการปฏิบัติงานทำครัวในหนังเรื่องนี้ เชฟพอล จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการ อำนาจในการเลือกวัตถุดิบ อำนาจในการเลือกชิมรสว่าต้องการจะใช้รสชาติแบบไหน อำนาจในการสั่งย้ายผู้ช่วยเชฟว่าจะให้ไปทำอะไร ตำแหน่งไหน แล้วเราก็จะเห็นว่าพ่อครัวในครัวนี้ไม่มีใครปฏิเสธอะไรได้เลย สั่งให้ทำอะไรก็ทำ เมื่อหัวหน้าเชฟทำอะไรไม่ดีหรือว่ารุนแรงเกินไปนั้น ก็ไม่มีใครในครัวกล้าปริปากหรือเถียงอะไรออกไปเลย ดังนั้นผู้ช่วยเชฟก็เปรียบเสมือนกับประชาชน ที่ต้องทำตามคำสั่งของหัวหน้าเชฟก็เปรียบเสมือนกับผู้นำรัฐบาลนั่นแหละ นอกจากนี้ยังมีการเสียดสีผู้นำของประเทศไทยในปัจจุบัน แสดงออกมาผ่านเชฟพอลที่มีความเกรี้ยวกราด ใช้คำพูดหยาบคาย ขว้างปาสิ่งของใส่ลูกน้อง หากเรามองผิวเผินแล้วก็รู้สึกว่าบทของเชฟพอในการกระทำแบบนี้มันเกินไป แต่ถ้าหากเรามองย้อนกลับมามองผู้นำของประเทศ ไทยแล้ว พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในหนังนั้นก็กลายเป็นเรื่องเด็ก ๆ ไปเลย

เปรียบเทียบกับTheMenu
จุดนี้ก็มีข้อสังเกตอยู่นิดหน่อยนะครับหากเปรียบเทียบระหว่างเชฟพอลจาก Hunger: คนหิว เกมกระหาย กับเชฟสโลวิก
The Menu เมนูสยอง แล้ว ผมมองว่าอุดมการณ์ของเชฟสโลวิก มันยิ่งใหญ่กว่าเชฟพอลหลายเท่าเลย เพราะเชฟสโลวิก ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบ เปลี่ยนแปลงโลกโดยใช้วิธีการอย่างสุดโต่ง แต่อุดมการณ์ของเชฟพอลเพียงเพื่อต้องการแก้แค้นคนรวยที่เรารัดเอาเปรียบเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรทั้งสองเชฟก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนกันก็คือ ทั้ง 2 เชฟมีความหิวกระหาย เพื่อขึ้นมา เป็นที่หนึ่งวงการอาหารเช่นกัน พิธีพิถันกับการทำอาหารมากที่สุดอย่างเช่น แสดงสัญลักษณ์การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จด้วยกันทั้งคู่เช่นกัน

นอกจากการนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์แบบเปรียบเทียบแล้วความดีงามของ Hunger: คนหิว เกมกระหาย ก็ยังมีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Production ที่ทำให้เห็นว่ามีการลงทุนอยู่ไม่น้อย ความพิถีพิถันในด้านภาพ ความพิถีพิถันของบท การเลือกใช้เพลงประกอบในการดึงอารมณ์คนดูให้คล้อยตามกับความรู้สึกของหนังถือว่าทำได้ดีมาก ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือความสามารถในด้านการแสดงของนักแสดงนำ ที่ทั้งหมดทั้งมวลส่งผลให้หนังนั้นมีความพิเศษมากกว่าหนังไทยหลายเรื่อง

โดยเฉพาะด้านการแสดงนั้น ในบทเชฟพอลที่แสดงโดยปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม เรารู้สึกว่าเขามีความทะเยอทะยานและมีแรงผลักดัน อย่างมากที่ทำให้เขาขึ้นมายืนอยู่ ในฐานะเชฟอันดับ 1 ของประเทศ ทำให้เห็นว่าเขามีความพยายามมากแค่ไหน ทำให้เห็นว่าเขานั้นต้องการจะรักษาจุดยืนที่เขายืนอยู่ขนาดไหน เพราะเหตุใดจึงเป็นคนที่เคร่งเครียดมากขนาดนั้น เราดูการแสดงของเขาแล้วก็เชื่อได้อย่างสนิทใจโดยที่ไม่มีอะไรมาตั้งคำถามความแครงใจเลย

และบทเชฟออยที่แสดงโดย ออกแบบ ชุติมณฑน์ คือที่สุดไม่มีที่ติ เราสามารถเห็นการแสดงในระดับ ที่เรียกได้ว่าเป็นแนวหน้าของประเทศ สีหน้าแววตา สามารถถ่ายทอดออกมาได้ในหลายระดับในหลายความรู้สึก และทุกครั้งที่มีการแสดงโดยที่ไม่ต้องใช้คำพูดเราก็สามารถเข้าใจความรู้สึกของตัวละครตัวนี้ได้อย่างทันที

การแสดงของทั้งสองคนนั้นสามารถถ่ายทอดความเป็นที่สุดของความหิว และเป็นการแสดงที่เข้าขั้นฮอลิวูธได้เลย

ในด้านของบรรยากาศโดยรวม โดยเฉพาะการแข่งขันการทำอาหารครั้งสุดท้ายนั้นดูไปดูมาก็ทำให้คิดถึงฉากการดวลระนาดของเจ้าสอน กับ ขุนอิน ในเรื่องโหมโรงได้เลยทีเดียว ก๋วยเตี๋ยวผัดงอแงก็เหมือนกับการตีระนาดของเจ้าสอน เนื้อ วัวเผากับน้ำซุปสูตรพิเศษก็เหมือนกับการตีระนาดของขุนอิน เราดูแล้วก็ทำให้รู้สึกได้ว่าเชฟออยนั้นกดดันจริง ๆ ที่พยายามเอาชนะเชฟอันดับ 1 ของประเทศให้ได้ และเชฟพอลก็แสดงว่าเขานั้นเหมาะสมที่จะเป็นเชฟอันดับ 1 ของประเทศจริง ๆ

ส่วนในเรื่องการเสียดสีสังคม คนรวย นักการการเมืองเลว ๆ หรือพฤติกรรมการกินของพวกคนรวย หสกนำไปเปรียบเทียบกับ The Menu เมนูสยอง (2022) แล้ว ต้องยอมรับว่ายังไม่สามารถสู้ทางหนังฝรั่งเรื่องนี้ได้ เพราะใน The Menu นั้นเขาใช้แค่โลเคชั่นเดียว ก็สามารถนำเสนอความหลากหลายในการเสียดสีออกมาได้แทบทั้งหมด หรือแม้แต่บทสนทนาที่ใน Hunger: คนหิว เกมกระหาย พูดออกมาอย่างโจ่งแจ้งเกินไป ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การอยากเป็นคนพิเศษ การกร่นด่าพวกคนรวย จึงกลายเป็นว่าในหนังนั้น ได้ใช้คำคมจำนวนมากมาอธิบายสิ่งเหล่านี้จนรู้สึกว่ามันเอียงเกินไป แต่ใน The Menu ใช้คำพูดคมน้อยมาก แต่เมื่อเอามาใช้มันก็คมแบบบาดลึกเข้าไปในจิตใจ แล้วที่สำคัญการใช้คำพูดคมๆที่น้อยนั้นมันกลับสามารถขยายให้เราได้รับรู้ถึงการเสียดสีต่าง ๆ ไปได้มากมายมหาศาลอย่างอัศจรรย์เลยมีเดียว

ontheteenbeat

My Review

Review Form...

Reviews

Loading Reviews...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *